วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำไมชลชาย ต้องเรียก ม.4 เพิ่มจากที่ประกาศไปแล้ว


รอง ปิยะวรรณ หอมอเนก 19 พค. 2555


รองบุญเสริม มงคลดาว 19 พค. 2555





วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จุดสำคัญ ในการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครอง

จุดสำคัญ ในการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครอง หากจัดตั้งมาแล้ว
ต้องไม่ใช่การจัดตั้งมาเพื่อเอาตำแหน่ง เอาหน้าตาชื่อเสียง
ได้โฆษณาตนเอง แล้วก็เดินจากไปโดยไม่ได้ลงมือทำอย่างต่อเนื่อง
ควรกระทำการที่มากกว่าแค่การได้คุณสมบัติตำแหน่ง
ไปต่อท้ายตนเองให้ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
หรือหวังได้มาเป็นเครือข่ายผู้ปกครอง
โดยมุ่งห่วงแต่ผลประโยชน์ลูกตนเอง
หรือว่าลูกตนเองจะได้ประโยชน์อะไร เพียงด้านเดียว
หรือได้มาโชว์อวดอีโก้ตนเอง ว่าเป็นผู้มากความสามารถ
แต่ต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้ส่วนรวม
ทั้งโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์้เก่า ได้เข้าใจร่วมกัน และจะทำอะไรให้ส่วนรวมร่วมกันได้บ้าง
ต้องมิใช่ความกลัวเสียงนินทา เสียงบ่น แล้วไม่มีผลงานไม่ทำอะไร
หรือไปเพ่งเล็งฐานประโยชน์ของตนหรือของใครว่าจะได้แบบนั้นแบบนี้ลับหลังเป็นพิเศษ
เพราะจะทำให้องค์กรที่เกิดขึ้น มีแต่คนไม่กล้าทำงาน มีแต่กลัวการนินทาว่าร้าย
สุดท้าย องค์กรเครือข่ายนั้น ก็จะมีแต่ความนิ่งสงบ
เป็นเสมือนลิงได้ถ้วย ได้แหวน แต่ไม่มีคุณค่าใดๆ ที่ก่อประโยชน์



การทำเพื่อเป็นข่าว เอาหน้าหน้าเอาตา เสมือนสังคมอื่นๆ หลายๆ แห่ง
ควรจะหมดไปในสังคมแห่งการเรียนรู้
โดยเฉพาะองค์กรที่เกิดขึ้นมาเพื่อนักเรียนและผู้ปกครอง ที่รวมเป็นเครือข่าย
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียน การสนับสนุนโรงเรียนร่วมกัน
หากมีสิ่งใดต้องแก้ไข สามารถท้วงติงด้วยความหวังดี
เพื่อให้การทำงานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ในนามหมู่คณะ
มิใช่เสียงใดเสียงหนึ่ง ขัดขวางก็เสียขบวน
ถือเป็นบทพิสูจน์วุฒิภาวะทั้งการเป็นผู้นำและผู้ตามได้ชัดเจนระดับหนึ่ง

การนำเสนอบทความในครั้งนี้ เป็นเสมือนการให้ยาแรงเพื่อให้ข้อคิดต่อกัน เพราะเสียดายเวลาที่ผ่านมา รวมถึงเพื่อก้าวพาดผ่าน ไปถึงกรณีประเด็นดังในสังคมโรงเรียนมัธยมศึกษา
ของเดือนพฤษภาคม ในปีการศึกษา 2555 กรณีการไม่ได้เรียนต่อโรงเรียนดังๆ
หรือต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย นั้น
ก็มิใช่ว่าชีวิตจะจบสิ้นลงไป หรือการที่ได้เรียนห้องดีๆ ห้องเรียนเก่ง
ห้องพิเศษ ก็ไม่ได้ทำให้ลูกของคนๆ ใดเป็น
ยอดมนุษย์พิเศษธรรมดาตรงไหน
มันล้วนเป็นไปตามศักยภาพของเด็กคนนั้น ประกอบกับชะตาชีวิต และสถานภาพการเลี้ยงดูของแต่ละคน
ส่วนเรื่องการรับเงินแป๊ะเจี๊ยะหรือไม่
จริงแล้ว เป็นสิทธิของกระทรวงศึกษา สพฐ.
ผู้บริหารโรงเรียน และผู้เกี่ยวข้องในการรับจ่ายเงิน
ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อตอบคำถามสังคมได้
จึงควรแยกประเด็นกัน
สิ่งใดๆ ถ้าหากไม่ถูกต้อง ก็คงจะต้องมีการขยายผล หรือ
ส่งผลอย่างหนึ่งอย่างใด อย่างแน่นอน
เพราะการรับฝากเด็กด้วยเงินมากกว่าวัดผลประสิทธิภาพทางการเรียน
ล้วนส่งผลเสียต่อสถาบันโรงเรียนได้เสมอในทางใดก็ทางหนึ่ง
ดังที่เกิดขึ้นมาทุกโรงเรียน
 
ดังจะเห็นได้จาก ข่าวคราวระหว่าง นักเรียน ผู้ปกครอง กับโรงเรียนดังๆ
ในกรุงเทพ ขณะนี้ ที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า
จะลงเอยเช่นใด ใครจะชนะ ใครจะแพ้
หรือย่อยยับไปทั้งสองฝ่าย
การเตรียมความพร้อมทางการเรียน
และการดูแลทำความเข้าใจ ร่วมกันระหว่างตัวผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร
จึงเป็นสิ่งสำคัญ โรงเรียนเป็นเพียงสถานที่เท่านั้น

ข้อความนี้อาจดูเหมือนพาดพิงใครไปบ้าง ขออภัย
แต่เพื่อให้ได้อรรถรสในการนำไปกล่าวถึงและแก้ไขต่อไป

การต่อ ม.4 GIFTED MEP ชลชาย ตอน 4

การติดตามตรวจสอบ คะแนนนักเรียน ม.ต้น
เพื่อเตรียมตัวต่อ ม.4 ตอน 4
GIFTED MEP ชลชาย

การต่อ ม.4 สายศิลป์คำนวน หรือ อังกฤษ-คณิต โควตา 3

การติดตามตรวจสอบ คะแนนนักเรียน ม.ต้น
เพื่อเตรียมตัวต่อ ม.4 ตอน 3
สายศิลป์คำนวน หรือ อังกฤษ-คณิต โควตา

คะแนนนักเรียน ม.ต้น ต่อโควต้าชลชาย สาpวิทย์ ตอน 2

การติดตามตรวจสอบ คะแนนนักเรียน ม.ต้น
เพื่อเตรียมตัวต่อ ม.4 ตอน 2
ทำอย่างไร ต่อโควต้า สายวิทย์

การตรวจสอบ นักเรียน ม.ต้น เพื่อเตรียมตัวต่อ ม.4

การติดตามตรวจสอบ คะแนนนักเรียน ม.ต้น
เพื่อเตรียมตัวต่อ ม.4 ตอน 1
ทำอย่างไร แก้ไขการคิด 0 /ร/มส/มผ

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยามหลับ เพื่อลูก


พ่อไม่มี เงินทอง จะกองให้
เจ้าอยากได้ ไอโฟน อย่างใครเขา
เครื่องเท่าไหร่ ลูกจ๋า อย่างเบาเบา
หนูจะเอา เครื่องหมื่นเจ็ด โฟร์เอสไง
♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦
มันจำเป็น เช่นนั้นหรือ มือถือลูก
เครื่องถูกถูก ลูกหามา จะซื้อให้
หนูไม่ยอม หนูจะเอา ไอโฟนไง
ถ้าไม่ได้ ไปโรงเรียน เพื่อนล้อเอา
♣-♣-♣-♣-♣-♣-♣-♣-♣-♣-♣-♣-♣
เพื่อลูกยา พ่อจะหา มาให้เจ้า
จะได้เอา ไปอวดใคร ไม่อายเขา
แต่ตอนนี้ พ่อต้องเพิ่ม เวลาเอา
เพื่อตัวเจ้า ต้องขยัน ทำโอที
♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠-♠
ต้องเอาด่วน ก่อนเปิดเทอม เริ่มได้แล้ว
คงไม่แคล้ว เพื่อนหยอกล้อ ขอได้ไหม
กว่าที่พ่อ ทำโอที แล้วเมื่อไร
หนูจะได้ ไปอวดเพื่อน เลื่อนให้เร็ว
♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥-♥
พ่อจะเบิก เงินล่วงหน้า มาซื้อให้
เจ้าจะได้ ไม่อับอาย พวกเพื่อนเขา
เงินก้อนนี้ กว่าจะได้ ต้องแลกเอา
ช่วงเวลา ของสองเรา ต้องหายไป

**ที่มา**
มีคนมาเล่าให้ฟังว่า...
นายทหารยศชั้นประทวน ท่านหนึ่ง
หลังเลิกงาน ก็ออกแท็กซี่ เพื่อหารายได้เพิ่ม
ได้ไปปรึกษา กับผู้บังคับบัญชา
เพื่อจะขอเบิกเงินเดือนล่วงหน้า
เหตุผลเพราะ จะนำไปซื้อ ไอโฟน ให้ลูกชาย
ที่ย่างเข้าวัยรุ่น ได้คะยั้นคะยอ กับเขาทุกวัน
ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า "iPhone"คืออะไร?
จึงนำเรื่อง(จริง)ดังกล่าว มาปรับแต่งเป็นกลอน
สอนน้อง ๆ เด็กวัยรุ่น
 

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โพลเปิดเทอม ผู้ปกครองเกือบครึ่งเจอปัญหาเงินไม่พอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นเรื่อง "ภาวะค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม ปีการศึกษา 2555" โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,083 คน พบว่า ผู้ปกครอง 50.8% ไม่ประสบปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายด้านการเรียนของลูก ในขณะที่ 49.2% ระบุว่าประสบปัญหา โดยสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าวเกิดจาก อุปกรณ์การเรียนราคาแพงขึ้น 40.0% รองลงมาคือ รายรับลดลง 26.3% และค่าเทอมแพงขึ้น 16.6%

สำหรับวิธีการที่ผู้ปกครองใช้แก้ปัญหามากที่สุดคือ นำเงินที่สะสมไว้ออกมาใช้ 19.8% รองลงมาคือ ขอยืมเงินจากญาติ พี่น้องและเพื่อน 19.1% และให้ลูกใช้เสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียนของปีที่แล้ว 18.5%

ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะให้ลูกไปโรงเรียนในเทอมนี้เมื่อเทียบกับเทอมที่แล้วพบว่า ผู้ปกครอง 56.1% ระบุว่า "จะให้เท่าเดิม" 43.2% ระบุว่า "จะให้เพิ่มขึ้น" (โดยระบุว่าให้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 39.4%) ส่วน 0.7% ระบุว่า "จะให้ลดลง"

สำหรับเรื่องที่ผู้ปกครองรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับลูกมากที่สุดในเทอมใหม่นี้ คือ ความปลอดภัยจากการเดินทาง 23.5% รองลงมาคือ การคบเพื่อนไม่ดี 22.2% และวิชาการที่ลูกๆ เรียนจะได้ไม่เต็มที่ 17.2% นอกจากนี้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ 75.9% ได้รับรู้เรื่องการใช้ชีวิต/การเรียนการสอนในโรงเรียนจากลูกว่าโรงเรียนสอนให้ลูกเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ขณะที่ 11.0% เน้นเป็นคนดีมากกว่าเรียนเก่ง และ 5.5% เน้นเรียนเก่งมากกว่าเป็นคนดี

เมื่อถามถึงประโยชน์จากนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลผู้ปกครองระบุว่า "นโยบายเรียนฟรี 15 ปี" มีประโยชน์ค่อนข้างมาก33.5% และมีประโยชน์มาก 31.8% ในขณะที่ระบุว่า มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย 20.1% และไม่มีประโยชน์เลย14.6% ส่วน "นโยบายการแจกแท็บเล็ต (tablet)"ผู้ปกครองระบุว่า มีประโยชน์ค่อนข้างมาก 31.9% และมีประโยชน์มาก 21.9% ในขณะที่ระบุว่า มีประโยชน์ค่อนข้างน้อยะ 23.3% และไม่มีประโยชน์เลย 22.9%

สำหรับเรื่องที่อยากบอกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยมากที่สุดคือ ให้เน้นการเรียนการสอนให้มากขึ้นลดกิจกรรมต่างๆ ลงบ้าง 21.6% รองลงมาคือให้คุณครูเอาใจใส่เด็กนักเรียนและ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ 14.2% และให้รัฐเพิ่มงบประมาณช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การเรียน 9.0%
ขอบคุณเดอะเนชั่น http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=632473&lang=T&cat=&key=

การย้ายห้องเรียน โรงเรียนชลราษฎรอำรุง 2555

ในปีการศึกษา 2555
การย้ายห้องเรียน โรงเรียนชลราษฎรอำรุง
จะมีเฉพาะในระดับชั้น ม.1 ขึ้น ม. 2 เท่านั้น
ขอขอบคุณ
ข้อมูลจากฝ่ายบริหารโรงเรียนฯ


เตือนอย่าเลียนแบบฉีด “กรดอะมิโน” ช่วยกระตุ้นอ่านหนังสือสอบ

เตือนอย่าเลียนแบบฉีด “กรดอะมิโน” ช่วยกระตุ้นอ่านหนังสือสอบ
ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000057229
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์9 พฤษภาคม 2555 15:23 น.
       เตือนวัยรุ่นอย่าเลียนแบบ กรณีปรากฏข่าวนักเรียนในต่างประเทศฉีดกรดอะมิโน เข้าสู่เส้นเลือดดำ เพื่อให้ตื่นตัวช่วงสอบ เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง หรืออาการแพ้ เช่น มึนงง อาเจียน ช็อกหมดสติ อาจแพ้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากต้องการสารอาหารที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโน แนะรับประทานเนื้อสัตว์ ปลา นม เนย ไข่ เป็นต้น พร้อมเตือนฉีดน้ำมันมะกอก เพื่อเพิ่มขนาดอวัยวะเพศ เสี่ยงต่อการที่ร่างกายจะต่อต้านสารแปลกปลอม อย.ระบุว่า ไม่มีการขึ้นทะเบียนน้ำมันมะกอก เพื่อใช้ในการฉีดแต่อย่างใด ย้ำ! การฉีดสารใดๆ เข้าสู่ร่างกายต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์ และอยู่ในดุลพินิจของแพทย์
     
       นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยกรณีมีข่าวว่า เด็กนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในต่างประเทศ ฉีด “กรดอะมิโน” เข้าเส้นเลือดดำ เพื่อช่วยกระตุ้น และสร้างพลังงานให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากต้องคร่ำเคร่งกับการเตรียมตัวสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใย และขอเตือนมายังเด็กนักเรียน รวมทั้งพ่อแม่และผู้ปกครองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรเลียนแบบ เนื่องจากกรดอะมิโนที่ร่างกายใช้สำหรับสร้างโปรตีน สามารถได้จากอาหารที่รับประทานอยู่แล้ว หากต้องการสารอาหารที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโน อย.ขอแนะนำให้รับประทานอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ ปลา นม เนย ไข่ เป็นต้น เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณของกรดอะมิโนจำเป็นอย่างพอเพียง สำหรับกรณีฉีดกรดอะมิโน เข้าสู่เส้นเลือดดำจะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น เช่นในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ และต้องทำในสถานที่ที่เหมาะสม มีแพทย์คอยดูแล เพราะการให้ยาหรือสารอาหารทางเส้นเลือด หากเกิดการแพ้อาจมีอันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหากแก้ไขไม่ทันท่วงที เช่น อาเจียน ช็อกหมดสติ นอกจากนั้น ตัวกรดอะมิโนก็มีโอกาสที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง หรืออาการแพ้อื่นๆ เช่น ปวดแผล ผื่นคัน ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน มึนงง ใจสั่น แน่นหน้าอก เป็นต้น
     
       รองเลขาธิการ กล่าวต่อไปว่า กรณีเด็กวัยรุ่นอายุ 16 ปี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซื้อน้ำมันมะกอกบรรจุขวดขนาดเล็ก และใช้หลอดฉีดยาฉีดเข้าผิวหนังรอบอวัยวะเพศด้วยตัวเอง เพื่อต้องการเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาเกิดการติดเชื้อ อักเสบ และบวมเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้เวลาปัสสาวะเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างมาก และอวัยวะเพศไม่แข็งตัวตามธรรมชาติ อย.ขอเตือนว่า การนำน้ำมันมะกอกมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย/อวัยวะเพศนั้น จัดเป็นสารแปลกปลอมที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะต่อต้านสารแปลกปลอมนั้น ก่อให้เกิดอาการที่ตามมา คือ ระคายเคือง บวม อักเสบ หากไม่รีบนำออกจะเกิดการเน่าเสีย เนื้อเยื่อถูกทำลาย เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจรุนแรงถึงขั้นอวัยวะเพศไม่สามารถใช้การได้อีก ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ อย.พบว่า ไม่มีการขึ้นทะเบียนน้ำมันมะกอก เพื่อใช้ในการฉีดแต่อย่างใด ดังนั้น น้ำมันมะกอกที่ใช้กันจึงไม่ปลอดภัยและมีโอกาสติดเชื้อได้สูง
     
       รองเลขาธิการ กล่าวในตอนท้ายว่า อย.จึงขอเตือนมายังวัยรุ่นที่คิดจะลองฉีดสารแปลกปลอมต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย หรือมีความเชื่อผิดๆ เช่น กรณีการฉีดกรดอะมิโนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อตุ้นให้ตื่นตัว รวมทั้งการฉีดน้ำมันมะกอกเพื่อเพิ่มขนาดอวัยวะเพศ อย.ขอเตือนว่าอย่าคิดลองเป็นอันขาด เพราะผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดความพิการไปตลอดชีวิต หรืออาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีการประกาศผลสอบ เบญจม

วิธีประกาศผลสอบ ม.1 และ ม.4 ของโรงเรียนบดินทร์เดชา สิงหเสนี 2555

ผู้ปกครอง ค้าน ใช้ O-Net จบช่วงชั้น ชี้โยนภาระมาที่เด็ก


ผู้ปกครอง ค้าน! ใช้ O-Net จบช่วงชั้น ชี้โยนภาระมาที่เด็ก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์8 พฤษภาคม 2555 17:47 น.
       สพฐ.ชงแนวทางใช้คะแนน O-Net ส่วนหนึ่งประเมินจบช่วงชั้น 2 แนวทางถามความเห็นสังคม แนวทางแรก เป็นการตัดเชือก ไม่ได้คะแนนขั้นต่ำตามเกณฑ์ ไม่ให้จบ ส่วนอีกแนวทางนำ O-Net มาถ่วงน้ำหนัก GPA ด้าน ตัวแทนผู้ปกครอง ครู ค้าน เพราะซ้ำเติมปัญหาเด็กแห่ติว ชี้ โยนภาระคุณภาพการศึกษาให้มาตกที่เด็ก
     
       ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลส สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดเสวนา เรื่อง “การนำใช้ผลการสอบ O-Net เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดย นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้นำเสนอแนวทางการใช้คะแนน O-Net มาเป็นหนึ่งของการประเมินจบช่วงชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เป็น 2 ตัวอย่าง โดยแนวทางแรก ใช้ในลักษณะของคะแนนขั้นต่ำที่นักเรียนต้องทำให้ได้ มิฉะนั้น จะไม่ได้รับการพิจารณาให้จบช่วงชั้น เพราะฉะนั้น ตามแนวทางนี้ นักเรียนจะต้องผ่านการประเมินรายวิชาของสถานศึกษา ขณะเดียวกัน ก็ต้องได้คะแนนO-Net ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดทั้งคู่ จึงจะได้รับการประเมินให้จบช่วงชั้น ซึ่ง สพฐ.เสนอให้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน O-Net ขั้นต่ำอยู่ที่ 20.01 คะแนน ส่วนแนวทางที่ 2 จะเป็นการนำคะแนน O-Net มาถ่วงน้ำหนักคะแนนเฉลี่ยสะสม หรือ GPA ซึ่ง สพฐ.เสนอให้ใช้สัดส่วนคะแนน GPA ต่อ O-Net ที่ 80:20 อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ตัวอย่าง ยังไม่ใช่ข้อสรุป สพฐ.จะรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ ก่อน
        
     
       ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า การนำคะแนน O-Net ซึ่งเป็นการทดสอบระดับชาติมาใช้ประกอบการพิจารณาจบช่วงชั้นนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นและก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตช่วง พ.ศ.2478-2520 รวม 42 ปี เคยมีข้อกำหนดให้นักเรียนที่กำลังจะจบ ม.8 ต้องมาเข้าสอบการทดสอบระดับชาติและได้คะแนนเกิน 50 ขึ้นไป จึงจะจบ ม.8 ทั้งนี้ เพื่อประกันว่า ผู้เรียนที่จบการศึกษานั้น มีความรู้อย่างแท้จริง แต่ในการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2517 หันไปยึดแนวทางการจัดการศึกษาตามแบบสหรัฐอเมริกา และได้ยุติการทดสอบดังกล่าวลงเมื่อปี 2521 เพราะเห็นว่า เป็นการซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำของสถานศึกษาชนบท อีกทั้งในยุคนั้น เน้นหลักการกระจายอำนาจทุกด้านไปให้สถานศึกษารวมด้านประเมินและวัดผลด้วย เด็กจะจบไม่จบให้อำนาจพิจารณาอยู่ที่สถานศึกษา ไม่ต้องใช้ข้อสอบกลางไปตัดสิน ทั้งยังมองว่า การทดสอบระดับชาติทำให้เกิดปัญหาเด็กตกซ้ำชั้นกันมาก อย่างรุ่นของตนมีคนสอบผ่านแค่ 18% ที่เหลืออีก 82% ต้องรออีก 1 ปี เพื่อมาสอบใหม่ จึงต้องการเปลี่ยนมาใช้ระบบของอเมริกา ที่เรียนเป็นหน่วยๆ ถ้าเด็กเรียนไม่ผ่านในหน่วยใดก็ให้ครูซ่อมเสริมทันทีไปในระหว่างภาคเรียน ไม่ต้องให้เด็กตกซ้ำชั้น ตรงนี้เป็นจุดกำเนิดของระบบเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติที่ใช้มาถึงปัจจุบัน แต่ที่ต่างจากอเมริกา คือ เราให้เด็กเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติเหมือนเขาจริง แต่ไม่ได้เน้นซ่อมเสริมให้เด็ก
     
       “34 ปีที่เราไม่มีการทดสอบกลางก่อนจบการศึกษานั้น ช่องว่างระหว่างสถานศึกษาในชนบทกลับยิ่งเพิ่มขึ้น จำนวนเด็กออกกลางคันก็ไม่ได้ลดลง เพราะฉะนั้น ควรมีการถ่วงดุลการประเมินผลของโรงเรียน ในส่วนของเด็กเอง เมื่อใช้คะแนนการประเมินระดับชาติมาพิจารณาการจบช่วงชั้น ก็จะทำให้เด็กมุ่งมั่นคิด ไม่ใช่คิดว่า เรียนอย่างไรก็ได้เพราะถึงยังไงก็จบ” ศ.ดร.สมหวัง กล่าวและว่า ทั้งนี้ ที่ สพฐ.เสนอตัวอย่างมา 2 แนวทางนั้น ตนเห็นด้วยกับแนวทางที่ 2 มากกว่า
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ.กล่าวว่า ในต่างประเทศ อย่าง เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก อิตาลี นั้น นักเรียนจะต้องผ่านการทดสอบระดับชาติก่อนจบ และสำหรับในกรณีของประเทศนั้น การนำ O-Net มาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินจบช่วงชั้นนั้น จะทำให้เกิดโรงเรียน ครู เกิดความรับผิดรับชอบ และสนใจพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ซึ่งในแนวทางที่ สทศ.คิดไว้ อยากให้เริ่มใช้คะแนน O-Net ร่วมกับคะแนนประเมินของ ร.ร.ในปี 55 ในสัดส่วน 80:20 และเพิ่มเป็น 50:50 ในปี 58 อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวอย่างที่ สพฐ.เสนอมานั้น อยากให้ใช้แนวทางที่ 2 ก่อนในระยะเริ่มต้น เพราะแนวทางแรกนั้น มาตรฐานสูงมาก กลัวว่า สถานศึกษาจะปรับตัวตั้งรับไม่ทัน
       ขณะที่ ดร.อุดมลักษณ์ กูลศรีโรจน์ ตัวแทนครูผู้สอน จาก ร.ร.สาธิตแห่ง ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ก็คงจำเป็นใช้คะแนน O-Net เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินจบการศึกษา แต่ควรจะใช้แค่ 5 กลุ่มสาระ และโดยส่วนตัวไม่เคยด้วยกับสอบ O-Net ทั้ง 8 กลุ่ม เพราะอีก 3 กลุ่มที่เหลือนั้น ยากจะวัดความสามารถแท้จริงของเด็กด้วยการทำข้อสอบปรนัย ต้องวัดจากการปฏิบัติของนักเรียนที่ ร.ร.เพราะฉะนั้น เมื่อนำมาใช้จริงอาจมีแรงต้านจาก ร.ร. และผู้ปกรอง โดยเฉพาะถ้าใช้สัดส่วนสูงถึง 50:50 โรงเรียนจำนวนหนึ่งอาจไม่เห็นด้วย เพราะO-Net วัดความรู้อย่างเดียว แต่ระบบประเมินผลของ ร.ร.ในปัจจุบัน ไม่ได้ประเมินผลจากข้อสอบปลายภาคและกลางภาคอย่างเดียว แต่มีการประเมินผลจากผลงาน และกิจกรรมต่างๆ ด้วย 
     
       ขณะที่ ตัวแทนครูจาก ร.ร.ดังแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เพราะจริงๆ แล้ว ข้อสอบ O-Net เอง ยังเป็นที่ถกเถียงถึงมาตรฐานข้อสอบ มีการออกข้อสอบเกินหลักสูตร หรือตรงตามตำราเรียนหรือไม่ จึงยังไม่ควรเอาข้อสอบดังกล่าวมาตัดสินเด็ก ขณะที่ตัวเด็กเองไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการสอบ O-Net เพราะส่วนใหญ่จะสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยแทน การเข้าสอบ O-Net ก็เพื่อรักษาหน้าให้โรงเรียนเท่านั้น นอกจากนี้ ระบบประเมินผลของที่ ร.ร.พัฒนาไปไกลแล้ว ใช้คะแนนจากการสอบแค่ร้อยละ 40 ที่เหลือเป็นการประเมินจากอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แต่กลับมาให้ใช้คะแนน O-Net ซึ่งเป็นข้อสอบวิชาการเป็นตัวตัดสินใจเด็กอีก อย่างนี้ไม่สอดคล้องกับที่เราตั้งเป้าพัฒนาให้เด็กเก่งและดี มีคุณธรรม จริยธรรม น่าจะใช้วิธีอื่นมากกว่าซึ่งการกระทำอย่างนี้ เหมือนกับการบีบเด็ก บีบครู และบีบ ร.ร.มากกว่าจะก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างแม้จริง
     
       นายสุรพล ธรรมร่มดี ตัวแทนผู้ปกครอง ร.ร.รุ่งอรุณ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ถ้าต้องการให้ใช้ O-Net มาพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น ทำไมไม่เอาไปใช้ย้อนไปพัฒนาหลักสูตร การจัดการการสอน ทำไมกลับมาลงที่เด็กอีก แทนที่จะมาจับเด็กสอบ น่าจะไปติดตามการสอนจริงของครูในชั้นเรียนเพื่อหาทางปรับปรุงคุณภาพครูมากกว่า ไม่ใช่มาแก้ปัญหาปลายทางโดยลงกับเด็ก มัน ไม่เป็นตรรกะ อยากเห็น นักเรียนจบมีคุณภาพ ทำไมไม่แก้ที่ครู
     
       “ ถ้าเอา O-Net มาใช้ประเมินจบการศึกษาจริง เด็กจะต้องไปติวกันอีก และจะทำให้มีปัญหาเด็กออกกลางคันมากขึ้น พวกผมต้องเดือดร้อน ควักกระเป๋าจ่ายเงินค่าติวให้ลูก บริหารการศึกษาอย่างนี้ ผู้ปกครองไม่เห็นด้วย เพ่งเล็งเด็กอย่างเดียว ไม่ได้หาทางแก้ครูเลย” ผู้ปกครอง กล่าว
     
       ด้าน นายสิระ สิมมี ประธานคณะกรรมการนักเรียน ร.ร.สวนกุหลาบ กล่าวว่า การใช้คะแนน O-Net ร่วมประเมินจบการศึกษานั้น จะเกิดผลดีแก้ปัญหาเกรดเฟ้อ เพราะปัจจุบันการให้เกรดของ ร.ร.ค่อนข้างต่างกันในแง่ของมาตรฐาน แต่สำหรับการวัดเรื่องอื่นๆ อย่าง คุณธรรม จริยธรรม นั้น เด็กอาจตอบถูกทุกข้อ แต่ในชีวิตจริงเขาอาจไม่ทำจริง ตรงนี้ข้อสอบวัดไม่ได้ รวมถึงวิชาอย่าง กีฬา ดนตรี สอนไม่เหมือนกัน ก็จะวัดได้ยากเช่นกัน ที่สำคัญ คือ สำหรับนักเรียนบางรายที่คิดว่า สอบไม่ผ่าน O-Net แน่ๆ อาจไม่ยอมเรียนต่อ ออกกลางคัน กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป เพราะฉะนั้น ควรมีระบบช่วยเหลือด้านวิชาการให้นักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนต่างจังหวัด นักเรียนที่ยากจนไม่มีเงินจะไปเข้าคอร์สติวได้

เครือข่ายผู้ปกครองชลชาย ONLINE