วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทุนเรียนฟรี สำหรับ ม.6 ศึกษาต่อปริญญาตรี

โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย)
คือ โครงการสร้างฐานกำลังคนระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ เพื่อเข้าสู่ระดับบัณฑิตศึกษา และรองรับงานการวิจัยและพัฒนาในอนาคต โครงการนี้เป็นโครงการร่วมระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทั่วประเทศ โดยผ่านที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย มีจุดประสงค์เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนดีและสนใจวิทยาศาสตร์ เข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ ในสาขาเคมี ชีววิทยา (สัตววิทยา/พฤกษศาสตร์) ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ และสถิติ ความพิเศษคือ โครงการนี้จะให้ทุนแก่นิสิตนักศึกษา โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ แต่ต้องเป็นผู้เรียนดี ประสงค์ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา และประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
เพื่อ สรรหานักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลการเรียนดี และสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์
เพื่อ ส่งเสริมการผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ ให้มีคุณภาพในระดับสากล
เพื่อ ผลิตบัณฑิตรองรับโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก และโครงการบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ของรัฐ

ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าโครงการฯ คุณสมบัติทั่วไป
มีสัญชาติไทย
กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
มีผลการเรียนดี ได้คะแนนเฉลี่ยรวมทุกวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 รวมกันไม่ต่ำกว่า 2.75 และคะแนนเฉลี่ย วิชาเคมีหรือชีววิทยา หรือฟิสิกส์ หรือคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00 มีความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์ และมุ่งมั่นที่จะประกอบอาชีพเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ หรือ นักวิจัย เพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติในอนาคต

คุณสมบัติเฉพาะ
เคยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ศึกษา ของมูลนิธิ สอวน. ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ และสสวท. หรือ
เคยเข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กและเยาวชน ของสวทช. และ สกว. หรือ
เคยได้รับรางวัล/ทุน หรือเคยร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์ ที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ เห็นชอบ เช่น โครงการประกวดโครงการงานวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ โครงการช้างเผือกปูนซิเมนต์ กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ระดับกลุ่มโรงเรียนขึ้นไป หรือกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นต้น หรือ
ได้รับการเสนอชื่อจากคณะวิทยาศาสตร์ต่างๆ ว่าเป็นผู้มีผลการเรียนดี 5 อันดับแรก หรือเป็นผู้ผ่านการสอบคัดเลือก จากโครงการพิเศษ หรือโครงการทุนการศึกษาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

จำนวนทุน
350 ทุน ทั่วประเทศ และไม่เกิน 35 ทุนต่อสถาบัน

สาขาที่สามารถเลือกเรียนได้
สาขาเคมี ชีววิทยา (สัตววิทยา / พฤกษศาสตร์) ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ และสถิติ

การคัดเลือกบุคคล
นักเรียนที่สมัครจากทั่วประเทศ ต้องผ่านการสอบข้อเขียนโดยใช้มาตรฐานข้อสอบเดียวกัน

การทดสอบเจตคติด้านวิทยาศาสตร์ และการสอบสัมภาษณ์
เงื่อนไขสำหรับนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการฯ ต้องไม่สมัครสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่นใด ทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ก่อน ต้องไม่ได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากโครงการอื่นใด ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร และกิจกรรมพิเศษที่แต่ละสถาบันจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ขณะศึกษาอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ ต้องมีผลการเรียนดี โดย ชั้นปีที่ 1 ต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ชั้นปีที่ 2 และ 3 ต้องได้ได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00 ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและลาออกจากโครงการก่อนสำเร็จการศึกษา ต้องชดใช้ทุนคืนสถาบันต้นสังกัด เป็นเงิน 2 เท่า ของทุนที่ได้รับไปแล้ว เว้นแต่จะได้รับการพิจารณาให้ออกจากโครงการฯ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ สำหรับผู้เรียนจนสำเร็จการศึกษาจะไม่ต้องชดใช้ทุนคืนและไม่มีข้อผูกมัดใดๆ อีกทั้งจะได้รับการพิจารณาให้เข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท-เอก เป็นพิเศษ

ตัวอย่างกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษาในโครงการฯ
การทำงานหรือฝึกงานในห้องปฏิบัติการวิจัยกับนักอาวุโสของแต่ละคณะด้านวิทยศาสตร์ กิจกรรมค่ายภาคฤดูร้อน เพื่อร่วมกิจกรรมการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการฝึกเสนอผลงาน

การประชุมสัมมนาทางวิชาการ
หรือการเสนอผลงานวิจัยในงานประชุม/สัมมนาวิชาการระดับประเทศ และนานาชาติ การดูงานหรือฝึกงานในระหว่างปิดภาคการศึกษากับหน่วยงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ในกระบวนการผลิต การศึกษา ดูงาน และเยี่ยมชมหน่วยงานวิจัย หรือสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมนอกสถานที่ที่เหมาะสมกับแต่ละภูมิภาคในระหว่างปีการศึกษา เช่น กิจกรรมพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่กำหนดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ

การเลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาของผู้รับทุน
ผู้สมัครเข้าโครงการฯ จะต้องเลือกสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่อยู่ในศูนย์ของโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ในภูมิภาคที่ตนเองศึกษาอยู่ ในชั้น ม.4 - ม.6 ดังนี้

ภาคเหนือ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคใต้ : มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ภาคกลาง : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สิ่งที่นักศึกษาผู้รับทุนจะได้รับ ได้รับคัดเลือกเข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์สถาบันที่สมัคร
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 4,000 บาทต่อเดือน หรือปีละ 48,000 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี
ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษา ตามที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเรียกเก็บ
ค่าหนังสือตำรา ปีละ 5,000 บาทต่อทุน
ทุนอุดหนุนการวิจัยตลอดหลักสูตร 5,000 บาท (สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 4) และเงินสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตรทั้งในและต่างประเทศ


ติดต่อขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครได้ที่ (ค่าสมัครสอบ 300 บาท)

ศูนย์โครงการฯ ภาคเหนือ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร. 0-5394-3315 โทรสาร 0-5322-2268

ศูนย์โครงการฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร. 0-4324-2387, 0-4323-7603 โทรสาร 0-4323-7603

ศูนย์โครงการฯ ภาคใต้
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
โทร 0-7444-6658 โทรสาร 0-7421-2828

ศูนย์โครงการฯ ภาคกลาง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2201-5050-54 โทรสาร 0-2201-7353
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร. 0-2218-5030 โทรสาร 0-2253-0337

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
งานการศึกษาและงานประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2201-5050-54, 0-2201-5007 โทรสาร 0-2644-7353, 0-2201-5072 และคณะวิทยาศาสตร์ของทุกสถาบันที่ร่วมโครงการ



(------------------- ตัวอย่างการประกาศรับสมัครของ ศูนย์ภาคใต ้ ------------------- )
โครงการพัฒนากำลังคน

ความเป็นมา
เนื่องจากที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์ แห่งประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้อย่างเหมาะสม ซึ่งขณะนี้ปัญหาที่ประเทศกำลังประสบอยู่ คือ ความขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งรวมถึงอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถทางการวิจัย และสามารถถ่ายทอดกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ด้วย คณะวิทยาศาสตร์ ในสถาบันของรัฐ 20 แห่ง จึงร่วมกันจัดตั้งโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) เพื่อจัดสรรทุนให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสนใจ มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ และสามารถสอบผ่านการคัดเลือกของโครงการฯ เข้าเรียนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 20 แห่งโดยให้ทุนจำนวน 350 ทุน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กำหนดให้ศูนย์มหาวิทยาลัย 4 ภูมิภาคดำเนินการรับสมัครและจัดสอบคัดเลือก ดังนี้ ศูนย์ภาคกลาง ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ภาคเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์ภาคใต้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ดังกล่าวโดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยแต่ละมหาวิทยาลัยรับได้ไม่เกิน 35 คน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จึงขอประกาศรับสมัครนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าสอบคัดเลือกเป็นนักศึกษาตามโครงการฯ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยที่ผู้สมัครสามารถเลือกเข้าศึกษาในศูนย์ภาคใต้
1. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สาขาวิชาเอกที่เลือกศึกษาได้ มี 5 วิชาเอก คือ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และ สถิติ
2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สาขาวิชาเอกที่เลือกศึกษาได้ มี 3 วิชาเอก คือ คณิตศาสตร์ประยุกต์ เคมี-ชีววิทยา และ ฟิสิกส์
3. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สาขาวิชาเอกที่เลือกศึกษาได้ มี 5 วิชาเอก คือ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และ สถิติ

คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2547
3. มีผลการเรียนดี ได้คะแนนเฉลี่ยรวมทุกวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงปีที่ 5 รวมกันไม่ต่ำกว่า 2.75 และได้คะแนนเฉลี่ย วิชาเคมี หรือ ชีววิทยา หรือ ฟิสิกส์ หรือ คณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 3.00
4. จะต้องเลือกสมัครเข้าคณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในศูนย์ภูมิภาคที่นักเรียน เรียน ม.4-6 อยู่เท่านั้น
5. มีความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์ และมุ่งมั่นที่จะประกอบอาชีพเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ หรือนักวิจัย เพื่อช่วย พัฒนาประเทศชาติในอนาคต
6. เคยร่วมกิจกรรมวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ที่จัดโดยกลุ่มโรงเรียนหรือโครงการ/กิจกรรมอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ บริหารโครงการฯ เห็นชอบ เช่น โครงการโอลิมปิกวิชาการ โครงการวิทยาศาสตร์และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ศึกษาของมูลนิธิ สอวน. ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ และ สสวท. หรือโครงการ พัฒนาอัจริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชนของ สวทช. และ สกว. หรือเข้าร่วมในการประกวดโครงงาน วิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ โครงการช้างเผือกปูนซีเมนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีหลักฐาน เป็นเอกสารรับรองหรือเกียรติบัตรของหน่วยงานที่จัดกิจกรรม ประกอบในการสมัคร (ดูรายละเอียดประกอบท้าย ประกาศ)

หลักฐานการสมัครสอบ
1. ใบสมัคร (ติดรูปถ่ายแล้ว)
2. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 3 รูป (ใช้ติดในใบสมัคร 1 รูป บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ 2 รูป) เขียนชื่อ-สกุลหลังรูปทุกรูปด้วย
3. สำเนาใบแสดงผลการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4–5 (หรือใบรับรองผลการศึกษา) จำนวน 1 ชุด
4. สำเนาเอกสารหลักฐาน หรือหนังสือยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการทางวิทยาศาสตร์
5. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ชุด
6. ซองจดหมาย 2 ซอง ขนาด 11´ 23 ซม. จ่าหน้าซองถึงตัวเองพร้อมที่อยู่ และติดแสตมป์ 3 บาท
7. ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ คนละ 300 บาท(หากพบว่าคุณสมบัติไม่ครบตามประกาศจะไม่มีสิทธิ์สอบข้อเขียน และ/ หรือ คณะวิทยาศาสตร์จะถือว่าการสอบเป็นโมฆะ และไม่คืนเงินค่าสมัครสอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น )

ผู้มีสิทธิ์สมัครสอบคัดเลือกและสถานที่ขอข้อมูล
นักเรียนจากโรงเรียนในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถติดต่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครสอบได้ ณ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดังนี้
1. โรงเรียนในจังหวัดสงขลา กระบี่ ภูเก็ต พังงา ตรังและระนอง ติดต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คุณจุฑารัตน์ อยู่อำไพ โทรศัพท์ 0-7428-8028 โทรสาร 0-7421-2801 หรือที่ http://www.sc.psu.ac.th
2. โรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ติดต่อที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คุณพรรณี เจริญธรวิช หรือ คุณฐาปาณีย์ นิเดร์ฮะ โทรศัพท์ 0-7333-1303, 0-7331-3930, 0-7331-3928 โทรสาร 0-7333-5130 หรือที่ http://myphp.pn.psu.ac.th
3. โรงเรียนในจังหวัดสตูล พัทลุง และนครศรีธรรมราช ติดต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คุณวิภาวี ปังธิกุล โทรศัพท์ 0-7431-1885 ต่อ 2005 โทรสาร 0-7444-3946 หรือที่ http://www.tsu.ac.th ช่วงเวลาการรับสมัคร
ระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม - วันที่ 31 สิงหาคม 2547 วิธีการรับสมัคร
1. ผู้สมัครกรอกใบสมัครของโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ประจำปี 2548 (สามารถถ่ายสำเนาได้)หรือดาวน์โหลดจาก http:www.sc.psu.ac.th และเตรียมหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
นำใบสมัครให้ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่โรงเรียนที่ตนศึกษาอยู่รับรองผลการเรียน

รับรองความประพฤติ
และรับรองรูปถ่ายที่ติดใบสมัคร โดยประทับตราของโรงเรียนเป็นสำคัญ แล้วยื่นใบสมัครและหลักฐานต่าง ๆ พร้อมเงิน ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคนละ 300 บาท ณ โรงเรียนที่ตนศึกษาอยู่ (ผู้สมัครมีสิทธิ์สมัครเฉพาะในศูนย์ ภูมิภาคที่โรงเรียนอยู่ในภูมิภาคเท่านั้น)
2. ผู้สมัครมีสิทธ์เลือก 3 สถาบัน และลำดับสาขาวิชาที่สนใจเรียนได้ 2 สาขา
3. แต่ละโรงเรียนรวบรวมใบสมัครของนักเรียนพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตู้ปณ 3 ปณฝ.คอหงษ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 โดยเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ ให้โรงเรียนรวบรวมและจัดส่ง เป็นธนาณัติหรือตั๋วแลกเงิน สั่งจ่าย "นางวาสนา ปลอดทอง หน่วยคลัง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2547 โดยจะยึดตราประทับบนซองจดหมายเป็นสำคัญ 4. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะส่งใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมสมัครสอบ และบัตรประจำตัวสอบ ของผู้สมัครไปยังโรงเรียนที่ผู้สมัครศึกษาอยู่เพื่อส่งต่อให้ผู้สมัครต่อไป

ขอให้ผู้สมัครสอบตรวจสอบคุณสมบัติของตนเองให้ครบถ้วนว่ามีสิทธิ์สมัครสอบหรือไม่ หากพบในภายหลังว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะไม่คืนค่าสมัครสอบและไม่มีสิทธิ์เข้าสอบข้อเขียน การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก
ผู้สมัครสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่
1. โรงเรียนที่ผู้สมัครสอบศึกษาอยู่
2. ฝ่ายการศึกษา/วิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ ทุกมหาวิทยาลัยที่อยู่ในศูนย์โครงการฯ ภาคใต้
3. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ หรือ http://www.sc.psu.ac.th
การสอบข้อเขียน (ทุกภูมิภาคสอบพร้อมกัน)
วิชาคณิตศาสตร์
วิชาชีววิทยา
วิชาฟิสิกส์
วิชาเคมี

ข้อสอบออกครอบคลุมเนื้อหาวิชาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคการศึกษาที่ 1

สถานที่สอบข้อเขียน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

การสอบสัมภาษณ์และสถานที่สอบสัมภาษณ์ ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนศูนย์ภาคใต้ให้มาสอบสัมภาษณ์

เงื่อนไขสำหรับนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการฯ
นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันที่ร่วมโครงการและยืนยันการรับทุนในโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ของคณะวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้ เพื่อศึกษาในวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
1. ต้องไม่สมัครสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่นใด ทั้งในและต่างประเทศโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ก่อน
2. ต้องไม่ได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากโครงการอื่นใด
3. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมพิเศษที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่ศึกษาจัดขึ้นหรือให้การรับรอง อย่างสม่ำเสมอ
4. ขณะศึกษาอยู่คณะวิทยาศาสตร์ต้องมีผลการเรียนดีโดย ชั้นปีที่ 1 ต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ชั้นปีที่ 2 และ 3 ต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 ในกรณีที่ผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ให้คณะกรรมการบริหารโครงการฯ เป็น พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม
5. ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและลาออกจากโครงการฯ ก่อนสำเร็จการศึกษา ต้องชดใช้ทุนคืนสถาบัน ต้นสังกัดเป็นเงิน ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของทุนที่ได้รับไปแล้ว เว้นแต่ว่าได้รับการพิจารณาให้ออกจาก จากโครงการฯ โดย ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ การรายงานตัวและสถานศึกษา ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาในโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) จะต้องตอบยืนยันการรับทุน ภายในวันที่ 23 ธันวาคม 2547 และไปรายงานตัวและทำสัญญาการรับทุนในวันที่ 24 ธันวาคม 2547 โดยมีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เป็นผู้นำไปมอบตัวและทำสัญญาเพื่อยืนยันการรับทุนการศึกษา เพื่อศึกษาในระดับปริญญาตรี ณ คณะวิทยาศาสตร์ ของสถาบันที่สอบคัดเลือกได้โดยไม่เปลี่ยนไปศึกษา ณ คณะอื่นหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น หากไม่ยืนยันภายในกำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์การเข้าเป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันนั้นๆ ทั้งนี้ภายหลังการทำสัญญายืนยันการรับทุนการศึกษาแล้ว จะไม่มีสิทธิเปลี่ยนคณะหรือสถาบันเรียน ทั้งนี้โครงการฯ จะแจ้งไปยังคณะหรือสถาบันต่างๆ เพื่อให้รับทราบการผิดสัญญา ซึ่งจะมีผลทำให้สถาบันอื่น ๆ ไม่สามารถรับนักศึกษาเข้าศึกษาได้

ทุนการศึกษา
ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาในโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระดับปริญญาตรี จะได้รับทุนการศึกษา ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 4,000.- บาท/เดือน หรือ 48,000.- บาท/ปี
2. ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษา เท่าที่จ่ายจริงตามที่มหาวิทยาลัยที่ศึกษาเรียกเก็บ
3. ค่าหนังสือ ตำรา ในอัตราปีละ 5,000 บาท
4. ทุนอุดหนุนการวิจัยตลอดหลักสูตร ในวงเงิน 5,000 บาท (เมื่ออยู่ชั้นปีที่ 4)
5. เงินสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรทั้งในและต่างประเทศตามความเหมาะสมตลอดระยะเวลาการศึกษาตาม หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ หลังสำเร็จการศึกษา

แหล่งที่มาของข้อมูล

เครือข่ายผู้ปกครองชลชาย ONLINE