วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปวดหัวกับ"วัยรุ่นหนีเรียน"เชิญทางนี้ มีทางแก้ดี ๆ มาฝากกัน






เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงรู้สึกวางใจ และสบายใจ

เมื่อได้เห็นว่า ลูกของตนเองแต่งชุดนักเรียนเรียบร้อย หิ้วกระเป๋า ออกเดินทางไปโรงเรียนทุกวัน แถมยังกลับบ้านตรงเวลา


แต่หัวใจของพ่อแม่จะตกไปอยู่ที่ตาตุ่มทันที หากวันที่ลูกควรจะไปโรงเรียน

กลับมีโทรศัพท์จากฝ่ายปกครองของโรงเรียน

โทรมาสอบถามว่า "วันนี้ ....ขาดเรียน เป็นอะไรหรือเปล่าคะ"


ก่อนอื่น คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงต้องยอมรับความจริงที่ว่า การโดดเรียนนั้นเป็นพฤติกรรมปฏิเสธโรงเรียนชนิดหนึ่งที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป

ทั้งในเด็กยุคนี้ และสมัยที่ตัวคุณพ่อคุณแม่เองยังเด็ก


ซึ่งเคยมีงานวิจัยระบุว่า ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 1,000 คนนั้น จะพบเด็กที่เคยโดดเรียนโดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ทราบ หรือไม่ได้ขออนุญาตอย่างน้อย 1 ครั้ง ราว 400 คน หรือ 40 เปอร์เซ็นต์


แต่หากพ่อแม่เมินเฉยต่อเสียงโทรศัพท์จากโรงเรียนที่โทรมาแจ้งเรื่องการขาดเรียนของเด็ก ปล่อยให้การขาดเรียนของลูกเกิดขึ้นบ่อย ๆ ผลเสียจะตกที่ตัวเด็ก เพราะจะเรียนตามเพื่อนไม่ทันได้ สาเหตุสำคัญเกิดจาก

"การเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก" เช่น


เด็กมีการย้ายห้อง ย้ายโรงเรียน ต้องเจอเพื่อนใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ คุณครูคนใหม่ เปลี่ยนวิชาเรียน ถูกกลั่นแกล้ง ฯลฯ หรือในบางกรณีอาจเกิดจากปัญหาในครอบครัว ที่ทำให้เด็กเกิดความเครียด หรือมีอาการเจ็บป่วยจนไม่อยากไปโรงเรียน


ลูกของคุณกำลังมีปัญหาจนต้องโดดเรียนหรือไม่นั้น สังเกตได้จาก


- ไม่มีการบ้านมานั่งทำเหมือนเด็กคนอื่น ๆ

- ไม่คุยเกี่ยวกับเพื่อน หรือครูที่โรงเรียนให้ฟัง

- หลีกเลี่ยงบทสนทนาเกี่ยวกับโรงเรียน

- ไม่เล่าให้พ่อแม่ฟังว่าตนเองทำอะไรบ้างเวลาอยู่ที่โรงเรียน



ปกติแล้ว ทางโรงเรียนจะติดต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง หากพบว่ามีนักเรียนขาดเรียน ซึ่งหากพ่อแม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และแก้ไขอย่างทันท่วงที ก็จะเป็นผลดีต่อเด็กมากกว่าการปล่อยลูกไปตามยถากรรม เพราะจะทำให้เด็กตามเนื้อหาการเรียนไม่ทัน อีกทั้งยังทำให้เด็กขาดความเชื่อมโยงกับ "โรงเรียน" มากขึ้น ๆ



พ่อแม่สามารถให้การสนับสนุน และกระตุ้นให้ลูกไปโรงเรียนได้ ดังนี้

- เปิดใจคุยกับลูกว่าทำไมลูกถึงไม่ต้องการไปโรงเรียน

= รับฟังปัญหา หรือความกลัวในใจลึก ๆ ที่ลูกเป็นอยู่

- ช่วยลูกหาทางแก้ไขปัญหา หรือปรับตัวปรับใจให้ดีขึ้น

- ปรึกษากับคุณครู หรือเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนในการช่วยจัดหาที่ปรึกษา ซึ่งอาจเป็นเพื่อน หรือคุณครู หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการช่วยลูกของคุณจัดการกับปัญหา


- ปรึกษาคุณครูเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการทำให้ลูกของคุณสนใจเนื้อหาการเรียนและมีส่วนร่วมมากขึ้น

- คุยกับพ่อแม่ของเพื่อนลูก เพื่อจะได้มีแนวร่วมช่วยกันกระตุ้นให้เด็กสนใจในการเรียน


นอกจากนี้ พ่อแม่ยังสามารถอธิบายถึงความสำคัญของการไปโรงเรียนให้เด็ก ๆ ทราบด้วยก็ได้ เช่น


- การไปโรงเรียน จะมีวิชาเรียนหลากหลาย และอาจทำให้เด็กดึงศักยภาพของตนเองออกมาได้มากขึ้น หรือค้นพบในสิ่งที่ตนเองถนัดจากการลองทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่โรงเรียน

- การไปโรงเรียนทำให้เด็กได้พบเจอเพื่อน ๆ การมีเพื่อนช่วยให้เกิดเครือข่าย เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในเวลายากลำบาก

- มีการบ้านสนุก ๆ มาทำ

- มีโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมเสี่ยงน้อยกว่า


นักวิจัยพบด้วยว่า การที่เด็กอยู่ในโรงเรียนนั้นเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ไม่เฉพาะด้านการศึกษา แต่ยังรวมถึงหน้าที่การงานในอนาคต รายได้ สุขภาพ และความเป็นอยู่ของเขาด้วย


เรียบเรียงจาก Raising Children Network


วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผลการจัด อันดับโรงเรียนที่เก่งที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2554


ผลการจัด อันดับโรงเรียนที่เก่งที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2554 โดยพิจารณาจาก โอลิมปิกวิชาการ O-net โควตา รับตรง admission แพทย์ กสพท. ทุนรัฐบาล ทุน กพ. ทุน พสวท. และ รางวัลชนะเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

1. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
2. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
3. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
4. โรงเรียนบดิทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
5. โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง
6. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา
7. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
8. โรงเรียนสตรีวิทยา
9. โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
10.โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่

11.โรงเรียน อุดรพิทยานุกูล จ.อุดรธานี
12.โรงเรียนอัสสัมชัญ
13.โรงเรียนสาธิต มศว.ปทุมวัน
14.โรงเรียน สาธิต ม.เชียงใหม่
15. โรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
17.โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่
18. โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี
19.โรงเรียน เทพศิรินทร์
20.โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่

21.โรงเรียน เบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช
22.โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จ.เชียงราย
23.โรงเรียนนครสรรค์
24.โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
25.โรงเรียนสตรี วิทยา 2
26.โรงเรียน สาธิต ม.ขอนแก่น
27.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.ตรัง
28.โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น
29. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
30. โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จ.เพชรบุรี

31.โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
32.โรงเรียน สุราษฎร์ธานี
33. โรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่
34.โรงเรียน ภูเก็ตวิทยาลัย
35.โรงเรียน โยธินบูรณะ
36.โรงเรียน สาธิต ม.สงขลานครินทร์ จ.ปัตตานี
37.โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จ.ยะลา
38.โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย จ.นนทบุรี
39.โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.ราชบุรี
40.โรงเรียนหอวัง

41.โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น
42.โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
43. โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน
44.โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
45. โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
46.โรง เรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา
47. โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก
48.โรงเรียน ศึกษานารี
49. โรงเรียนพิษณุโลกวิทยาคม
50.โรงเรียนสาธิต มศว.ประสานมิตร

51. โรงเรียน บุรีรัมย์พิทยาคม จ.บุรีรัมย์
52.โรงเรียนร้อยเอ็ด วิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด
53.โรงเรียนนารีรัตน์ จ.แพร่
54.โรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์
55.โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา
56. โรงเรียนสตรีศรีน่าน จ.น่าน
57.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.สตูล
58.โรงเรียน บดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี 2 ) 
59.โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
60.โรงเรียน ชลราษฎร์อำรุง

61. โรงเรียน เซนต์โยแซฟคอนแวนต์
62.โรงเรียน สระบุรีวิทยาคม
63.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
64.โรงเรียน ระยองวิทยาคม
65. โรงเรียนดาราวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
66.โรงเรียนแสงทองวิทยา
67. โรงเรียนทวีธาภิเศก
68.โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จ.ลพบุรี
69.โรงเรียนบูรณะรำลึก จ.ตรัง
70. โรงเรียนลำปางกัลยาณี จ.ลำปาง

71.โรงเรียน กำแพงเพชรพิทยาคม
72. โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย นครปฐม
73.โรงเรียนสาธิต ม.ราชภัฎนครปฐม
74.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.มุกดาหาร
75.โรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา
76.โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
77.โรงเรียนสารคามวิทยาคม จ.มหาสารคาม
78. โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
79.โรงเรียนเบญจมราชาลัย
80.โรงเรียน สายน้ำผึ้ง

81.โรงเรียนพัทลุง
82.โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จ.นครศรีรรมราช
83.โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.จันทบุรี
84.โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม
85.โรงเรียนชลกันยานุกูล
86.โรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฎิ์
87.โรงเรียนสาธิต ม.ราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
88.โรงเรียน เบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี
89.โรงเรียน วิสุทธังษี จ.กาญจนบุรี
90.โรงเรียน นวมินทราชูทิศ หอวัง นนทบุรี

91.โรงเรียนสุรวิทยาคาร จ.สุรินทร์ 
92.โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จ.อุดรธานี
93.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช
94.โรงเรียนศรียาภัย จ.ชุมพร
95.โรงเรียนสาธิต(พิบูลบำเพ็ญ) ม.บูรพา
96.โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
97.โรง เรียนอัสสัมชัญธนบุรี
98.โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
99.โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
100.โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ที่มา : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2044831

บันทึกการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนชลราษฎรอำรุง ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔

บันทึกการประชุม
คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนชลราษฎรอำรุง
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔
บันทึกการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนชลราษฎรอำรุง ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) กับการปรับตัวและเตรียมความพร้อมของภาคการศึกษาไทยในทุกระดับชั้น

AEC3

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

กับการปรับตัวและเตรียมความพร้อมของภาคการศึกษาไทยในทุกระดับชั้น

บทความโดย นาย กฤษณพงศ์ ลายอักษร

ประธานเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนชลราษฏรอำรุง (2554-2555)

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่องของไม้เรียว มองให้ครบทุกมุม


ไม้เรียวตีเด็ก

เครือข่ายผู้ปกครองชลชาย ONLINE